Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

การสกัดสารพันธุกรรมด้วยเครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอนุภาคแม่เหล็กขนาดเล็ก (Magnetic beads) ยี่ห้อ MagPurix รุ่น EVO12

การสกัดสารพันธุกรรมด้วยเครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอนุภาคแม่เหล็กขนาดเล็ก (Magnetic beads) ยี่ห้อ MagPurix รุ่น EVO12

 

เครื่อง MagPurix สามารถสกัดสารพันธุกรรมชนิดดีเอ็น (DNA) และชนิดอาร์เอ็นเอ (RNA) ที่มีความบริสุทธิ์สูง รองรับ 12 ตัวอย่างต่อการทำงานหนึ่งครั้ง โดยใช้ระยะเวลา 30-180 นาที หรือเลือกใช้รูปแบบการสกัดแบบรวดเร็ว (Rapid) ใช้ระยะเวลาประมาณ 35 นาที สามารถใช้ได้กับตัวอย่างประเภทเลือด ซีรั่ม พลาสม่า หรือสารคัดหลั่งจากมนุษย์ ใช้ปริมาณตัวอย่างเริ่มต้นที่ปริมาตร 100 uL ถึงปริมาตร 2,000 uL สำหรับชุดน้ำยาสกัดสารพันธุกรรมจะบรรจุในตลับน้ำยาที่มีการปิดผนึกด้วยแผ่นฟิล์ม  สารพันธุกรรมที่ผ่านการสกัดจากชุดน้ำยานี้ สามารถนำไปใช้ได้ในงาน PCR, RT-PCR, Sequencing, NGS

สำหรับเครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอนุภาคแม่เหล็กขนาดเล็กผ่านการรับรองจากหน่วยงานสากล CE-IVD ที่สามารถใช้ในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ อีกทั้งยังได้รับการอนุมัติการขึ้นทะเบียนจากทาง อย. ในประเทศไทย

  1.  

ภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการสกัดสารพันธุกรรมด้วยเครื่อง MagPurix รุ่น EVO12

 

ชุดน้ำยาสกัดสารพันธุกรรม (DNA/RNA) มีองค์ประกอบของน้ำยาหลัก ดังนี้

  • Lysis Buffer
  • Magnetic beads reagent
  • Wash Buffer I
  • Wash Buffer II 
  • Elution Buffer
  1. การสกัดด้วยหลักการอาศัยอนุภาคแม่เหล็ก จะช่วยเพิ่มการจับกับสารพันธุกรรมได้มากกว่า โดยทางบริษัท Zinexts จะมีการใช้ ZiBeads ซึ่งเป็น 4D-Catch nanometer-sized paramagnetic particles ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยจะทำการเคลือบสารไว้บน ZiBeads ช่วยให้ได้ปริมาณสารพันธุกรรมที่มากขึ้น และลดการใช้สารเคมีในการสกัด เนื่องจากในขั้นตอนสุดท้ายของการสกัดนั้นจะทำการ Elute ด้วยน้ำบริสุทธิ์
  2. สำหรับในขั้นตอนการเติมน้ำยา Lysis buffer จะมีการ Incubated ตัวอย่างกับน้ำยา Lysis buffer ในตำแหน่งของ Polygon reaction chamber (ภาพที่ 2) ที่เป็นสิทธิบัตรเฉพาะของทางบริษัท Zinexts ที่ได้ออกแบบมาใช้ในเครื่อง MagPurix จะแยกส่วนของการ Incubated ด้วยการ Heating และการผสมตัวอย่างเพื่อให้อนุภาคของแม่เหล็กมีการสัมผัสกับสารพันธุกรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มการทำให้เซลล์แตก ทำให้ได้ปริมาณของสารพันธุกรรมที่มาก (High yield) และในขั้นตอนการ Washing ก่อนการ Elute จะทำการ Incubated ตัวอย่างอีกครั้งเพื่อเพิ่ม Purity ของสารพันธุกรรมมากยิ่งขึ้น โดยที่จะมีการแยกอนุภาคแม่เหล็กเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

 

ภาพที่ 2 แสดง Polygon reaction chamber ที่เป็นสิทธิบัตรเฉพาะของทางบริษัท Zinexts

 

ชุดน้ำยาสกัดสารพันธุกรรมสามารถเก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 18 เดือน วัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้งานร่วมกับชุดน้ำยาสกัดสารพันธุกรรม สำหรับการสกัดตัวอย่าง จำนวน 1 ตัวอย่าง ดังนี้

  • ทิปพลาสติกแบบมีฟิลเตอร์ (Filter tip) ขนาด 1,000 ไมโครลิตร จำนวน 1 ชิ้น
  • ทิปพลาสติกสำหรับเจาะตลับน้ำยาที่มีการปิดผนึกด้วยแผ่นฟิล์ม (Reagent cartridge) จำนวน 1 ชิ้น
  • หลอดสำหรับเก็บสารพันธุกรรม (Elution tube) หลังการสกัด ขนาด 1.5 มิลลิลิตร จำนวน 1 ชิ้น

         

สำหรับชุดน้ำยาจะประกอบด้วย 48 ตัวอย่างต่อหนึ่งกล่อง จะมีชุดน้ำยาที่เหมาะสมกับตัวอย่างทางชีวภาพและเหมาะสำหรับ Target types ของทางลูกค้าให้เลือกมากถึง 17 ชุดน้ำยา ดังภาพที่ 3

 

ภาพที่ 3 แสดงชุดน้ำยาสำหรับการสกัดสารพันธุกรรมด้วยเครื่อง MagPurix รุ่น EVO12

 

ตัวอย่างการทำการทดสอบสกัดสารพันธุกรรมด้วยเครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติ MagPurix รุ่น EVO12 กับชุดน้ำยาสกัดสารพันธุกรรม MagPurix Blood DNA Extraction Kit 200 (ZP02001) โดยทำการทดสอบกับตัวอย่างเลือดที่ทำการเก็บในระยะเวลาที่แตกต่างกัน ได้แก่ หลอดเลือด EDTA ที่ทำการเก็บเป็นระยะเวลา 6 เดือน (Long term storage) หลอดเลือด EDTA ที่ทำการเก็บเป็นระยะเวลา 3 เดือน หลอดเลือด EDTA ที่ทำการเก็บเป็นระยะเวลา 1 เดือน และหลอดเลือด EDTA ที่ทำการเก็บเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องสกัดอัตโนมัติ จากผลการทดสอบพบว่า เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติสามารถทำการสกัดสารพันธุกรรมจากตัวอย่างเลือดที่ทำการเก็บในระยะเวลาที่แตกต่างกันได้ ให้ปริมาณความเข้มข้นของสารพันธุกรรม และค่าอัตราส่วนการดูดกลืนแสงที่ A260/280 และ A260/230 ดังตารางที่ 1 เป็นการสกัดสารพันธุกรรมด้วยเครื่องสกัดแบบ Full protocol

 

ตารางที่ 1 ความเข้มข้นของสารพันธุกรรมและค่าอัตราส่วนการดูดกลืนแสงหลังการสกัดด้วยเครื่องสกัดอัตโนมัติยี่ห้อ MagPurix รุ่น EVO12 แบบ Full protocol

ตัวอย่าง

Concentration (ng/µL)

A260/280

A260/230

EDTA เก็บนาน 6 เดือน

38.8

1.82

1.50

EDTA เก็บนาน 3 เดือน

118.4

1.83

1.96

EDTA เก็บนาน 1 เดือน

128.3

1.86

2.11

EDTA เก็บนาน 1 เดือน

87.8

1.85

1.83

EDTA เก็บนาน 2 สัปดาห์

98.8

1.86

1.81

EDTA เก็บนาน 2 สัปดาห์

86.9

1.86

1.83

 

 

ส่วนการสกัดสารพันธุกรรมแบบรวดเร็ว (Rapid) ผลการทดสอบพบว่า เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติสามารถทำการสกัดสารพันธุกรรมจากตัวอย่างเลือดที่ทำการเก็บในระยะเวลาที่แตกต่างกันได้ ให้ปริมาณความเข้มข้นของสารพันธุกรรม และค่าอัตราส่วนการดูดกลืนแสงที่ A260/280 และ A260/230 ดังตารางที่ 2 

 

 

ตารางที่ 2 ความเข้มข้นของสารพันธุกรรมและค่าอัตราส่วนการดูดกลืนแสงหลังการสกัดด้วยเครื่องสกัดอัตโนมัติยี่ห้อ MagPurix รุ่น EVO12 แบบ Rapid protocol

ตัวอย่าง

Concentration (ng/µL)

A260/280

A260/230

EDTA เก็บนาน 6 เดือน

19.3

1.64

-1.24

EDTA เก็บนาน 3 เดือน

26.4

1.70

-1.44

EDTA เก็บนาน 1 เดือน

21.9

1.62

-1.67

EDTA เก็บนาน 1 เดือน

29.5

1.70

-2.09

EDTA เก็บนาน 2 สัปดาห์

62.6

1.76

ND

EDTA เก็บนาน 2 สัปดาห์

24.3

1.68

-1.56

 

สรุปได้ว่า ตัวอย่างเลือดที่ทำการเก็บเป็นระยะเวลานาน (Long term storage) สามารถนำมาสารพันธุกรรมจากเครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติได้ ให้ปริมาณความเข้มข้นของสารพันธุกรรมในช่วง 38.8 – 128.3 ng/µL และมีค่าอัตราส่วนการดูดกลืนแสงที่ A260/280 ในช่วง 1.8  สำหรับการสกัดแบบ Full protocol และในส่วนของ Rapid Protocol ให้ปริมาณความเข้มข้นของสารพันธุกรรมในช่วง 19.3 – 62.6 ng/µL และมีค่าอัตราส่วนการดูดกลืนแสงที่ A260/280 ในช่วง 1.6 - 1.7 

 

ขอขอบคุณ ศูนย์ธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่เอื้อเฟื้อตัวอย่างหลอดเลือดและเครื่องสกัดอัตโนมัติ ยี่ห้อ MagPurix รุ่น EVO12 ในการทดสอบ

Kanokwan Buranabureedech