Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

รู้จักกับโรคธาลัสซีเมีย ตอนที่ 2

 Thalassemia: An Informative Guide | Narayana Health

รูปภาพจาก Thalassemia: An Informative Guide | Narayana Health

 

รู้จักกับโรคธาลัสซีเมียให้มากขึ้น

 

 

จากตอนที่ 1 ผู้อ่านได้เข้าใจสาเหตุและชนิดของโรคธาลัสซีเมียพอสังเขป พร้อมกับเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ MassArray แล้ว สำหรับตอนที่สองนี้จะเจาะลึกโรคนี้กันมากขึ้นอีกนิด พร้อมกับอีกเทคโนโลยีการตรวจธาลัสซีเมีย 

ยีนที่เกี่ยวข้องกับธาลัสซีเมียอัลฟาสองตัว HBA1 และ HBA2 ตั้งอยู่บนโครโมโซม 16 และยีนที่เกี่ยวข้องกับเบต้าธาลัสซีเมียหนึ่งยีน HBB ตั้งอยู่บนโครโมโซม 11

รูปภาพจาก โรคธาลัสซีเมีย (3billion.io)

ฮีโมโกลบินที่พบในปริมาณประมาณ 98% หรือฮีโมโกลบิน Hb A เป็นฮีโมโกลบินหลักที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยแอลฟาและเบต้าอย่างละสองหน่วย ซึ่งถูกสร้างจากยีนบนโครโมโซมที่ 16 และ 11 ตามลำดับ 

ความชุกของโรคธาลัสซีเมีย

Map showing the different prevalence of each thalassemia according to regions and different ethnic groups.

รูปภาพจาก โรคธาลัสซีเมีย (3billion.io)

ธาลัสซีเมียในผู้ใหญ่ จะแบ่งออกเป็นสองรูปหากยึดจากการกลายพันธ์ุของยีนบนโครโมโซม นั่นคือชนิดแอลฟา (α) และ เบต้า (β) โดยพบว่า

  • ชนิดแอลฟา พบได้บ่อยในประชากรอาเซียน และแอฟริกาใต้ 
  • ชนิดเบต้า พบได้บ่อยในประชากรเชื้อสายเมดิเตอร์เรเนียน และเอเชียใต้

ธาลัสซีเมียชนิดแอลฟา

ความรุนแรงของอาการจึงแตกต่างกันไปตามการกลายพันธุ์ที่เป็นไปได้สี่แบบในยีน HBA1 และ HBA2

รูปภาพจาก โรคธาลัสซีเมีย (3billion.io)

รูปภาพแสดงความรุนแรงของธาลัสซีเมียชนิดแอลฟา ความรุนแรงขึ้นอยู่กับจำนวนยีนที่กลายพันธุ์ (เส้นประ) โดย

Carrier คือ พาหะโรคธาลัสซีเมีย ไม่มีอาการใดๆเกิดขึ้นหากมีสุขภาพดี แต่สามารถถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลานได้

Alpha thalassemia minor คือ ภาวะธาลัสซีเมียแฝง อาจพบภาวะโลหิตจางเล็กน้อย

Hb H เกิดจากการกลายพันธุ์ถึงสามยีน ทำให้เกิดการขาดแคลนหน่วยแอลฟาอย่างรุนแรง เป็นภาวะโลหิตจางเรื้อรัง และส่งผลต่อกระดูก ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องถ่ายเลือดสม่ำเสมอตลอดชีวิต

Alpha thalassemia major หรือการที่ไม่สามารถผลิตหน่วยแอลฟาได้เลย หากเกิดกับเด็กในครรภ์ถ้าไม่แท้งก็มีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน

 

โรคธาลัสซีเมียชนิดแอลฟา ในประชากรไทยและอาเซียน

ความผิดอันเกิดจากยีนแอลฟาโกลบิน ส่วนใหญ่พบว่ามักเกิดจากการขาดหายของแอลฟาโกลบินยีน ซึ่งการขาดหายไปของตำแหน่งเดียวส่งผลให้การสร้างหน่วยแอลฟาได้น้อยกว่าปกติ เรียกว่า แอลฟาธาลัสซีเมีย 2 หากเกิดการขาดหายสองตำแหน่งบนโครโมโซมเดียวกัน จะเรียกว่า แอลฟาธาลัสซีเมีย 1 

ในประเทศไทยอุบัติการแอลฟาธาลัสซีเมีย 1 ที่พบบ่อยคือชนิด SEA deletion ซึ่งมีการขาดหายของ DNA มากกว่า 17.5 kb ส่วนการขาดหายของ DNA ชนิด Thai deletion พบได้น้อยกว่า 

เทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถตรวจยืนยันภาวะแอลฟาธาลัสซีเมีย 1 คือ Kompettitive Allele Specific PCR (KASP™) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Genotyping อันเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัท LGC จากสหราชอาณาจักร เป็นนวัตกรรมใหม่ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตรวจวิเคราะห์ DNA Marker ชนิด Single Nucleotide Polymorphism (SNPs) และ Insertion - Deletion (InDel) โดยอาศัยเทคนิค Fluorescence Based Genotyping 

 

 KASP technology

เทคโนโลยี KASP™ Genotyping ประกอบด้วยสามองค์ประกอบ ได้แก่

DNA ตัวอย่าง, KASP™ Assay Mix ที่มีไพร์เมอร์ของตำแหน่งที่สนใจ และ KASP™ Master Mix

 ความพิเศษของ KASP™ อยู่ที่การออกแบบไพร์เมอร์ให้มีความจำเพาะต่อ SNPs, InDel หรือตำแหน่งที่กลายพันธุ์ ขั้นตอนการวิเคราะห์จะประกอบด้วย

  • การสกัดสารพันธุกรรม
  • การทำ PCR
  • การวิเคราะห์ผลด้วย Endpoint Genotyping ด้วยเครื่อง Plate Reader หรือ Real-time PCR ที่มีโปรแกรมสนับสนุนการวิเคราะห์ Endpoint Genotyping

ในปัจจุบันการตรวจ Allele Specific PCR นั้นได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากในการทำ Genotyping เช่นการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง หรือการนำมาใช้ทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ เพื่อดูการตอบสนองต่อยาในคนไข้แต่ละคน

จุดเด่นของเทคโนโลยี KASP™

  • KASP™ ใช้ระบบการรายงานผลแบบสากล ไม่ซับซ้อน
  • ใช้ปริมาณ DNA เพียงแค่ 10 นาโนกรัมต่อ SNP
  • ปริมาณสารเคมีชนิดต่างๆ ใช้ในปริมานน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ใช้การติดฉลากสี FAM™ และ HEX™ เพื่อการทำ Cluster Analysis 

 

Pongsagon Pothavorn