Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

การวิเคราะห์รูปแบบเอกลักษณ์ของกลิ่นและรสชาติในเครื่องดื่ม

         

 

 

 

          เครื่องดื่มเหล้าอัดลม (Hard Seltzers) คือเครื่องดื่มที่ผลิตจากเหล้าผสมน้ำโซดาและอาจจะเพิ่มรสชาติน้ำผลไม้ต่างๆ เข้าไป  ซึ่งเป็นเครื่องดื่มเหล้าอัดลมนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพ เนื่องเป็นเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่ต่ำเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่น

          ในปี 2020 มีเครื่องดื่มเหล้าอัดลมวางจำหน่ายในท้องตลาดกว่า 50 ยี่ห้อมีกลิ่นและรสชาติแตกต่างกันไป ด้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้นได้รับความนิยมมากขึ้นทำให้จำนวนผู้ผลิตเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาและควบคุมคุณภาพสินค้าให้ครองใจผู้บริโภคจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการตรวจสอบคุณภาพตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การขนส่ง ตลอดจนการเก็บรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษากลิ่นและรสชาติซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผลิตภัณฑ์ไว้ ซึ่งการวิเคราะห์เพื่อหารูปแบบเอกลักษณ์ของกลิ่นและรสชาติ (Flavour Profiling) จะช่วยให้การตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอนก่อนถึงมือผู้บริโภคทำได้ง่ายและยังช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ในอนาคตอีกด้วย

          กลุ่มสารที่ให้รสชาติหรือกลิ่นในเครื่องดื่มโดยมากแล้วก็เป็นสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds, VOCs) ซึ่งก็จะใช้เทคนิคการสกัดแบบดูดซับด้วยตัวดูดซับขนาดเล็ก (Solid Phase Micro Extraction, SPME) ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (Gas Chromatography, GC) ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์ที่ง่ายและรวดเร็ว แต่สารที่ให้รสชาติหรือกลิ่นบางชนิดก็ไม่สามารถระเหยได้ง่าย หรือละลายได้ดีในของเหลว ทำให้ต้องสกัดโดยจุ่ม SPME ลงในตัวอย่างโดยตรงซึ่งอาจจะส่งผลให้ SPME สกปรกไม่สามารถทำความสะอาดได้ส่งผลให้มีอายุการใช้งานที่สั้นลง ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเทคนิคการสกัดด้วยตัวดูดซับที่มีความสามารถสูง (High-capacity sorptive   extraction, HiSorb) ที่มีปริมาณของตัวดูดซับมากขึ้น และสามารถทำความสะอาดเพื่อใช้ซ้ำได้ ทำให้รองรับการสกัดด้วยตัวดูดซับได้ทั้งแบบแบบเฮดสเปซ (Headspace) และแบบจุ่มโดยตรงลงในตัวอย่าง (Immersive)

          ในบทความนี้จะกล่าวถึงการใช้การสกัดด้วยเทคนิค HiSorb ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟ-แมสสเปคโตรมิเตอร์ ในการวิเคราะห์เพื่อหารูปแบบเอกลักษณ์ของกลิ่นและรสชาติในเครื่องดื่มเหล้าอัดลมกลิ่นเชอร์รี่/เบอร์รี่ จำนวน 4 ยี่ห้อ โดยมีวิธีการดังนี้

เตรียมตัวอย่าง

   ปิเปตตัวอย่าง 4 มิลลิลิตรลงขวดเฮดสเปซขนาด 20 มิลลิลิตรจากนั้นเติมน้ำ 16 มิลลิลิตร ปิดฝาให้แน่น

วิธีการสกัด

   ชนิดของตัวดูดซับที่ใช้ในการทดสอบ

  • PDMS
  • PDMS/CWR
  • PDMS/DVB
  • DVB/CWR/PDMS

 

สภาวะของเครื่องมือ

เครื่องเตรียมตัวอย่างอัตโนมัติ

   -อุณหภูมิที่ใช้ในการสกัด   : 35 องศาเซลเซียส 10 นาที

   -อุณหภูมิที่ใช้ในการชะสาร : 260 องศาเซลเซียส 10 นาที

เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ

   -คอลัมน์        : TG-WaxMS (60m x 0.25mm x 0.25µm)

   -แก๊สพา        : อัตราการไหล 2.0 มิลลิลิตรต่อนาที

   -อุณหภูมิของตู้อบ : เริ่มต้น 35 องศาเซลเซียสจากนั้นเพิ่มด้วยอัตราเร็ว 10 องศาเซลเซียสต่อนาทีจนถึง 240 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ 10 นาที

เครื่องแมสสเปคโตรมิเตอร์

   -อุณหภูมิ : 250 องศาเซลเซียส

   -ช่วงมวล : 35-350 m/z

 

          จากผลการวิเคราะห์พบว่าสารที่เป็นกลุ่มสารให้กลิ่นที่เป็นองค์ประกอบหลักในตัวอย่าง เช่น Benzaldehyde ที่ให้กลิ่นเชอรี่ 4-Methoxybenzaldehyde ที่ให้กลิ่นวนิลา และ 2-methyl-2-pentenal ที่ให้กลิ่นผลไม้ สามารถตรวจวิเคราะห์โดยใช้ตัวดูดซับได้ทุกชนิด ตลอดจนสารที่มีจุดเดือดสูงเช่น γ-decalactone และ p-anisylacetone ก็สามารถสกัดได้เช่นเดียวกันเนื่องจากเป็นการสกัดที่จุ่มตัวดูดซับลงในตัวอย่างโดยตรง (Immersive) ทำให้สามารถวิเคราะห์สารได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับเทคนิคเฮดสเปซ (Headspace) ที่จะต้องมีการให้ความร้อนกับตัวอย่างเพื่อให้สารที่สนใจระเหยขึ้นมาดูดซับไว้ที่ตัวดูดซับ 

          จากการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ทั้งหมดตัวดูดซับชนิด PDMS/DVB ที่สามารถวิเคราะห์สารได้หลากหลายมากกว่าตัวดูดซับชนิดอื่น จึงเลือกใช้ตัวดูดซับชนิด PDMS/DVB เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างเหล้าอัดลมจาก 4 ยี่ห้อเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบเอกลักษณ์ของกลิ่นและรสชาติ

          เมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ของตัวอย่างเหล้าอัดลมทั้งสี่ยี่ห้อพบว่าสารที่ตรวจพบได้มีความคล้ายคลึงกันในด้านจำนวนสารที่ตรวจวัดได้เนื่องจากเป็นสินค้าที่เป็นกลิ่นเดียวกัน แต่จะมีความเข้มข้นแตกต่างกันไปโดยดูจากขนาดสัญญาณของพีกที่ตรวจวัดได้เปรียบเทียบกัน เนื่องจากแต่ละยี่ห้อมีสูตรการผลิตที่แตกต่างกันเพื่อจูงใจผู้บริโภค ดังนั้นจึงได้ทำการเปรียบเทียบข้อมูลผ่านซอฟแวร์ ChromCompare+ เพื่อนำมาวิเคราะห์ในเชิงหาเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์โดยการนำข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชนิดของสารที่ตรวจวัดได้และขนาดสัญญาณของสารแต่ละชนิดในตัวอย่างนั้นๆ มาสร้างความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลในรูปแบบ PCA เพื่อสร้างรูปแบบเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์แต่ละยี่ห้อ

          จากผลความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลรูปแบบ PCA จะเห็นได้ว่าเหล้าอัดลมของทั้ง 4 ยีห้อมีความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลที่แยกออกจากกันได้อย่างชัดเจนแสดงถึงความมีเอกลักษณ์เฉพาะของผลิตภัณฑ์ทั้งสี่ยี่ห้อ นอกจากนี้ยังซอฟแวร์ยังสามารถระบุถึงสารที่มีความแตกต่างกันระหว่างชุดข้อมูลเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ของตัวอย่างนั้นๆ เพิ่มเติมได้อย่างอัตโนมัติ

          นอกจากดูผลในรูปแบบความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลในรูปแบบ PCA หรือดูเฉพาะสารที่มีความแตกต่างกันได้แล้ว ซอฟแวร์ ChromCompare+ ยังสามารถเปรียบเทียบขนาดสัญญาณของสารที่สนใจในแต่ละตัวอย่างในรูปแบบกราฟแท่ง ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์เพื่อหาเอกลักษณ์ หรือการวิเคราะห์เพื่อควบคุมคุณภาพตลอดจนการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ในอนาคตอีกด้วย

 

อ่านบทความเพิ่มเติมคลิก : www.scispec.co.th/app/2022TH/AN22_Centri_Flavor.pdf

ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมคลิก: https://www.scispec.co.th/contact.html

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ

 

 

 

 

 

Ratimarth Boonlorm