Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 954

การวิเคราะห์หาปริมาณสารไนโตรซามีนด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟ-แมสสเปคโตรมิตรี (Determination of Nitrosamine by PCI-GCMS/MS)

 

          สารไนโตรซามีนเป็นสารที่เกิดจากองค์ประกอบสารไนไตรต์ (Nitrite) และสารที่เรียกว่า อามีน (Secondary Amines) ซึ่งเป็นสารที่ถูกใช้ในการแปรรูปอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ชนิดของสารไนโตรซามีนที่เป็นสารก่อมะเร็งคือกลุ่มที่เป็นสารประกอบเอ็น-ไนโตรโซ ประเภทอะลิฟาติก (Aliphatic) และ อะโรมาติก (Aromatic) โดยมีกลุ่มฟังชั่นนอลไนโตรโซต่อกับไนโตรเจนโดยโครงสร้างโดยทั่วไปของสารประกอบเอ็น-ไนโตรโซเป็นดังรูปที่ 1

 

รูปที่ 1 โครงสร้างของสารประกอบเอ็น-ไนโตรโซ

 

          สารไนโตรซามีนที่มีการพิสูจน์แน่นอนแล้วว่าก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้แก่ ไดเมทธิลไนโตรซามีน (Dimethyl nitrosamine), ไดเอธิลไนโตรซามีน (Diethyl nitrosamine) , เมธิลเบนซิลไนโตรซามีน (Methylbenzyl nitrosamine) และ เมธิลเฟนิลไนโตรซามีน (Methylfenyl nitrosamine) โดยวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณของสารไนโตรซามีนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือเทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟีแมสสเปคโตรมิตรี ซึ่งเทคนิคนี้สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งปริมาณและสามารถตรวจยืนยันชนิดของสารไนโตรซามีนได้อีกด้วย

          การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีแมสสเปคโตรมิตรีสามารถเลือกวิเคราะห์โดยการแตกตัวแบบ EI (Electron Ionization) และแบบ PCI (Positive Chemical Ionization)  โดยให้ผลการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันกล่าวคือ  การใช้ EI ในการวิเคราะห์จะให้ผลที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลเพื่อรายงานความน่าจะเป็นว่าสารนั้นเป็นสารชนิดใดได้  แต่เป็นวิธีที่ใช้พลังงานในการแตกตัวสูงจึงทำให้สารบางชนิดไม่สามารถทำ MS/MS โหมดได้  จึงต้องให้การแตกตัวแบบ PCI ที่ใช้พลังงานที่ใช้ในการแตกตัวของสารตัวอย่างนั้นต่ำกว่า เหมาะกับสารที่ต้องการทำ MS/MS โหมด  เช่น สารกลุ่นไนโตรซามีน เป็นต้น  ในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด  ดังตัวอย่างการวิเคราะห์นี้

 

รูปที่ 2 แสดงโครมาโทรแกรมของสารละลายมาตรฐานผสมที่วิเคราะห์โดยใช้โหมด EI-Full scan

 

 

รูปที่ 3 แสดงโครมาโทรแกรมของสารละลายมาตรฐานผสมที่วิเคราะห์โดยใช้โหมด PCI-SRM

 

     

 

ตารางที่ 1 เวลาที่สารมาตรฐานถูกชะออกจากคอลัมน์และ mass ที่เลือกใช้ในโหมด SRM

 

                            สารมาตรฐานผสมความเข้มข้นของสารมาตรฐาน 20, 30, 40, 50, 100, 200 และ 300 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร (ng/ml) โดยให้ค่า R2 อยู่ในช่วง 0.9846-0.9985

 

      

      

 

 

          ดังนั้นการวิเคราะห์สารไนโตรซามีนสามารถทำได้โดยใช้เครื่อง GC-MS/MS ในโหมด PCI-SRM ซึ่งในโหมดการวิเคราะห์แบบ SRM เป็นการวิเคราะห์ที่ระบุ Precursor ion และ Product ion ซึ่งจำเพาะเจาะจงต่อสารแต่ละชนิด ทำให้สามารถลดตัวรบกวนในการวิเคราะห์ได้ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์สารได้