Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

รู้จักกับสารเอทิลีนออกไซด์

รู้จักกับสารเอทิลีนออกไซด์ให้มากขึ้น

หากกล่าวถึงการวิเคราะห์ที่สำคัญในวงการอาหารของโลก คงปฏิเสธพระเอกที่ชือว่า "เอทิลีนออกไซด์" ไม่ได้ สารตัวนี้มีการถามถึงเป็นอย่างมากจากกรณีที่ไม่นานมานี้ มีการประกาศเรียกคืนไอศครีมยี่ห้อหนึ่ง กว่า 10 รสชาติ เบื้องต้นทั้งในยุโรปและเอเชีย รวมแล้วกว่า 7 ประเทศ 

 

สาเหตุเพราะเกิดการพบสารเคมีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในอาหารและอุปกรณ์การแพทย์ และมีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็งได้หากผู้บริโภคใช้ในปริมาณเกินกว่าที่กำหนดและต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีหลักฐานเชื่อมโยงสารเอทิลีนออกไซด์กับการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว รู้ไว รักษาได้" | World Medical Hospital

เหตุการเรียกคืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเบลเยียม เป็นล็อตที่มีวันหมดอายุระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เมษายน ปี 2023 โดยมีกว่า 10 รสชาติ ที่รายงานระบุว่าให้ลูกค้าที่ทำการซื้อสินค้าล็อตดังกล่าวห้ามรับประทาน และทำการติดต่อกับบริษัท เจนเนอรัล มิลค์ เพื่อขอเงินคืน เช่นเดียวกับในไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ ล้วนพบปัญหาเดียวกัน โดยในใต้หวัน สำนักงานอาหารและยา ประกาศเรียกคืนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวประมาณ 450,000 รายการ หรือราว 60,000 กิโลกรัม ใน 5 รสชาติเลยทีเดียว

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป - วิกิพีเดีย

ในขณะที่เรื่องราวยังไม่จางหาย วันนี้ (7 ตุลาคม 2565) ทางสำนักงานอาหารแห่งสิงคโปร์ ได้มีการเรียกคืนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสองผู้ผลิต เนื่องจากตรวจพบสารเอทิลีนออกไซด์จำนวนสองชนิด ได้แก่ 2-คลอโรเอทานอล และเอทิลีนออกไซด์ จนเรื่องมาถึงกองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย ซึ่งหลังจากตรวจสอบพบว่า กลุ่มสินค้าดังกล่าวได้มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหนึ่งผู้ผลิต และมีจำนวนกว่าหกรายการ เพื่อลดความเสี่ยงในการบริโภคของคนในประเทศ ทางกองอาหารจึงได้ขอความร่วมมือให้ผู้จำหน่ายนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ระบุ ออกจากชั้นวางและระงับการขายในทันที

European Union | Definition, Flag, Purpose, History, & Members | Britannica

จากปัญหาดังกล่าว และหลักฐานอันน่าเชื่อถือได้ถึงอันตรายของสารตัวนี้ โดยข้อมูลทางพิษวิทยาระบุว่า หากได้รับสารดังกล่าวเกินกว่า 58 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรง ปัจจุบัน EU ได้กำหนดค่าการปนเปื้อนไม่ให้สูงไปกว่า 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามข้อกำหนด 2015/868

 

ภาพแสดงปฏิกิริยาการเกิด 2-คลอโรเอทานอล (ขวาบน) โดยภาพซ้ายสุดคือเอทิลีนออกไซด์

จากผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์อย่าง SGS ระบุว่าในอุตสาหกรรมอาหาร จะใช้แก๊สเอทิลีนออกไซด์ในการฆ่าเชื้อไวรัส รา และแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนมาในอาหาร โดยหลังจากการมแก๊ส ต้องปล่อยให้สลายตัวในอากาศไปอย่างน้อย 24 ชั่วโมง แต่ในบางครั้งสารเอทิลีนออกไซด์ที่สลายตัวไม่หมด มีโอกาสทำปฏิกิริยากับคลอไรด์ที่อยู่ในอาหาร เกิดสารพิษ 2-คลอโรเอทานอล ซึ่งเป็นสารพิษที่ระเหยได้ยาก และตกค้าง ซึ่งหากบริโภคเข้าไปจะเกิดอาการไอ คลื่นใส้ และวิงเวียนศีรษะ หากได้รับอย่างต่อเนื่อง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม ซึ่งจะกลายเป็นมะเร็งในท้ายที่สุด

About | Thermo Fisher Scientific

ในปัจจุบันทางบริษัท ซายน์ สเปค จำกัด ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องโครมาโตกราฟีระดับโลก อย่าง Thermo Fisher Scientific จากประเทศอเมริกา ร่วมกันพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารเอทิลีนออกไซด์และอนุพันธ์ ด้วยเทคนิค GC-MS จนได้ผลสำเร็จ และเป็นที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก

โดยขั้นตอนการวิเคราะห์ ประกอบด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ดังนี้

• TRACE 1610 gas chromatograph,
• TSQ 9610 GC triple quadrupole and a Thermo ScientificTM
• TriPlusTM RSH autosampler
• TG-624SilMS (30m x 0.25mm x 1.40um)
• GuardGOLD™ Capillary Columns (5m x 0.25mm)

พารามิเตอร์ในการตั้งค่าเครื่องมือ

รูปผลการวิเคราะห์ เอทิลีนออกไซด์ (ซ้าย) และ 2-คลอโรเอทานอล (ขวา) ในระดับความเข้มข้น 0.007 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

เส้นกราฟมาตราฐานของสารเอทิลีนออกไซด์ (ซ้าย) และ 2-คลอโรเอทานอล (ขวา)

 

Pongsagon Pothavorn