Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

เรื่องขมๆ ที่อาจยังไม่รู้

 

          จากกระแส Chocolate หลายยี่ห้อดังที่เป็นที่นิยมในท้องตลาดทั้งผลิตในประเทศและนำเข้า พบการปนเปื้อนของสารแคดเมียม และตะกั่ว ซึ่งสร้างความวิตกกังวลให้กับเหล่า Chocolate Lover ทั้งหลายเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสายดาร์ก เพราะยิ่งมีปริมาณโกโก้แมสมากก็ยิ่งเสี่ยงพบโลหะหนักทั้งสองชนิดมากขึ้น แต่ถ้าหากเราดูจากผลการวิเคราะห์ที่เป็นข่าว จะเห็นว่าทุกตัวอย่างที่ทดสอบนั้น พบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกตัวอย่าง เพราะมีปริมาณ โลหะเหล่านี้ “ต่ำ” กว่าค่ามาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ 

          แล้วโลหะเหล่านี้มาจากไหน?? การที่มีสารโลหะหนักพวกนี้ปนอยู่เล็กน้อยในช็อกโกแล็ตนั้น เป็นเรื่องที่พบได้อย่างไม่น่าแปลกใจนัก เพราะโดยทั่วไปแล้ว Chocolate จะประกอบด้วย อนุภาคของโกโก้, น้ำตาล, ไขมันจากโกโก้ และนมผงที่นำมาใช้เป็นวัตุดิบ ดังนั้นแคดเมียมและตะกั่วใน Chocolate นั้น ส่วนใหญ่จะมาจากแหล่งปลูกโกโก้นั่นเอง ซึ่งเป็นการปนเปื้อนจากแหล่งน้ำและดิน โกโก้สามารถดูดซึมโลหะหนักโดยเฉพาะสารตะกั่วได้ดี และสะสมสารตะกั่วไว้ได้สูงในเมล็ดโกโก้ แน่นอนว่าการปนเปื้อนโลหะไม่อาจทำลายได้ด้วยความร้อนอย่างจุลินทรีย์ ดังนั้นผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องคัดเลือกวัตถุดิบจากแหล่งที่ปลอดภัยเพื่อลดการปนเปื้อนของสารแคดเมียมและตะกั่ว 

          เรากิน Chocolate หรือโกโก้แล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง?? สารที่พบในเมล็ดโกโก้ มีหลากหลายชนิด เช่น สารต้านนอนุมูลอิสระ เช่นในกลุ่ม Flavonoids สารในกลุ่มกระตุ้นระบบประสาท เช่น Dopamine, Caffeine สารเหล่านี้จะให้รสขมและพบได้สูงในรูปของ Chocolate ที่ไม่ผสมนมและน้ำตาล หรือ Dark chocolate โดยสารเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต หรือมีผลต่อจิตใจในทางบวก ทำให้อารมณ์ดี รู้สึกแจ่มใสขึ้น แต่ความแจ่มใสก็จะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ดังนั้นในการกิน chocolate เพื่อสุขภาพ จึงควรเป็น Dark chocolate และไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพื่อจำกัดประมาณของสารโลหะหนักที่อาจได้รับจาก Chocolate ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า Chocolate ที่มีส่วนประกอบของโกโก้แมสระหว่าง 35-70% จะพบแคดเมียมสูงกว่า Chocolate นม หรือ Chocolate อื่นๆ นอกจากนี้ White chocolate คือ chocolate ที่ทำมาจากส่วนของเมล็ดโกโก้ ที่เป็นไขมันที่เรียกว่า Cocoa butter โดยมีการสกัดสารสีคล้ำออก ซึ่งสารที่ถูกสกัดออกนี้ คือสารที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้น Chocolate ขาวจึงมีผลดีต่อสุขภาพน้อยกว่า Chocolate ทั่วไปหรือ Dark chocolate นั่นเอง

   

          สำหรับเทคนิคที่ใช้ในการตรวจหาปริมาณสารพิษปนเปื้อนนั้นต้องใช้เครื่องมือที่สามารถระบุถึงระดับความเป็นพิษที่แม่นยำ มีความถูกต้องสูง และสามารถสอบกลับได้ เทคนิคที่นิยมใช้ในการหาโลหะหนักในอาหารได้แก่ เทคนิค AA, ICP-OES หรือเทคนิค ICP-MS ซึ่งเทคนิคเหล่านี้สามารถวัดค่าสารพิษได้ในระดับที่ต่ำ (ppb to ppm) หรือมีปริมาณของสารปนเปื้อนแม้พียงเล็กน้อย สำหรับเทคนิค ICP เป็นการวิเคราะห์ตัวอย่างเพียงครั้งเดียวแตต่สามารถตรวจวิเคราะห์ปริมาณธาตุได้หลายชนิด ทำให้ประหยัดเวลาและปริมาณตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์  รวมทั้งช่วยลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

หากผู้อ่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนใจรายละเอียดของ Application Note สามารถติดตามได้ที่ลิงค์ https://tools.thermofisher.com/content/sfs/brochures/AN-43034-AAS-Cadmium-Chocolate-AN43034-EN.pdf แล้วพบกันใหม่ค่ะ kiss

Kantima Sitlaothavorn