Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

As speciation in Urine

         

 

          สารหนู (Arsenic) เป็นธาตุกึ่งโลหะที่พบได้ในรูป ธาตุบริสุทธิ์ (Elemental form) หรือในรูปสารประกอบ (Arsenic compound) ทั้งสารประกอบ อินทรีย์ของสารหนู (Organic arsenic compound) และสารประกอบอนินทรีย์ของสารหนู (Inorganic arsenic compound) สารหนูและสารประกอบของสารหนูส่วนใหญ่นั้นมีพิษร้ายแรง ก่อให้เกิด อาการต่อระบบร่างกายแทบทุกระบบ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบผิวหนัง ระบบหัวใจและหลอดเลือด หากเราได้รับสารหนูในปริมาณสูงแบบเฉียบพลันสามารถทําให้เสียชีวิตได้ เราสามารถพบสารหนูปนเปื้อนอยู่ได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม เช่น ปนเปื้อนในดิน แหล่งน้ำ ในน้ำดื่ม น้ำจากบ่อบาดาล น้ำเสียจากเหมืองแร่ดีบุและเหมืองทอง เรายังพบสารหนูได้ในอาหาร เช่นข้าว อาหารทะเล ในยาลูกกลอน บุหรี่ หรือสมุนไพรที่ไม่ได้รับมาตรฐาน นอกจากนี้ การปนเปื้อนในอากาศของสารหนูสามารถเกิดขึ้นได้หากมีการเผาไหม้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมหรือถ่านหินจากแหล่งที่มีสารหนูปนเปื้อนอยู่

 

 

สารประกอบอนินทรีย์ของสารหนูจะมีความเป็นพิษมากกว่าสารประกอบอินทรีย์ของสารหนู อะตอมของสารหนูที่อยู่ใน สารประกอบต่างๆ นั้น จะพบได้อยู่  2 Valencies คือแบบ Trivalent หรือ As (III) ซึ่งจะเรียกสารประกอบสารหนูพวกนี้ว่าอาร์เซไนต์ (Arsenite) กับแบบ Pentavalent หรือ As (V) ซึ่งจะเรียกสารประกอบสารหนูพวกนี้ว่าอาร์เซเนต (Arsenate) สารประกอบของสารหนูในรูป As (III) มักจะพิษมากกว่าในรูป As (V)

 

 

เนื่องจากสารหนูจัดว่าเป็นสารแปลกปลอมใน ร่างกาย เราจึงสามารถนําการตรวจระดับสารหนูในร่างกายมาใช้เป็นการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการทํางานที่ต้เองสัมผัสสารหนูได้ โดยองค์กร ACGIH แนะนําให้ทําการตรวจระดับสารหนูในปัสสาวะ (Urine) แต่ไม่แนะนําให้ทํา การตรวจระดับสารหนูในเลือด (Blood) เนื่องจากปกติแล้วสารหนูจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและถูกกําจัด ออกไปอย่างรวดเร็ว ทําให้ระดับสารหนูในเลือดมักจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากสารหนูดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นค่าที่ตรวจได้จึงมักมีความแปรปรวนสูง

 

 

การตรวจหาระดับสารหนูในปัสสาวะนิยมตรวจด้วยวิธีการตรวจระดับสารหนูอนินทรีย์ และ Methylated metabolites (Inorganic arsenic plus methylated metabolites) ซึ่งเป็นการตรวจที่องค์กร ACGIH แนะนําให้ใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในการเฝ้าระวังสุขภาพคนทํางานที่ต้องสัมผัสสารหนู การตรวจนี้จะทำการตรวจแยกดูเฉพาะระดับสารหนูในรูปสารประกอบอนินทรีย์ทั้งหมด กับสารหนูในรูปสารประกอบอินทรีย์อีก 2 ชนิด ได้แก่ Monomethylarsonic acid (MMA) และ Dimethylarsinic acid (DMA) ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นจาก กระบวนการเมตาบอไลซ์สารหนูอนินทรีย์ในร่างกายของมนุษย์ การตรวจด้วยวิธีนี้จะช่วยลดปัญหาการเกิดผลลวงอันเนื่องจาก สารประกอบอินทรีย์ของสารหนูในกลุ่ม Arsenobetaine ที่พบในอาหารทะเลได้ เช่น ในเนื้อปลา (Fish) กุ้ง ปู (Shellfish) หอย (Mollusk) สาหร่ายทะเล (Seaweed) และซูชิ (Sushi) ซึ่งสารหนูในรูปนี้เป็นสารประกอบอินทรีย์ของสารหนูที่ไม่มีข้อมูลว่ามีความเป็นพิษ

 

 

ในกระบวนการเมตาบอลิสม์ของสารประกอบอนินทรีย์ของสารหนูในร่างกายมนุษย์นั้น สารประกอบในรูป As (V) จะสามารถเปลี่ยนแปลงแบบกลับไปมาเป็นสารประกอบในรูป As (III) ได้ สารประกอบในรูป As (III) จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยปฏิกิริยา Methylation เป็นสาร MMA และจากนั้นสาร MMA จะเปลี่ยนแปลงเป็นสาร DMA เป็นลําดับสุดท้าย ซึ่งสารเหล่านี้ทุกชนิดจะถูกขับออกจากร่างกายให้ตรวจพบได้ในปัสสาวะ โดย จะขับออกมาในรูปสาร DMA มากที่สุด สําหรับค่ามาตรฐานที่องค์กร ACGIH กําหนดไว้ที่ไม่เกิน 35 μg As/L

 

 

สำหรับเทคนิคที่ใช้ในการแยกสารหนูออกเป็นแต่ละ Species นั้น ได้แก่ เทคนิค Ion Chromatography, IC ร่วมกับ เทคนิคการวิเคราะห์ธาตุ Inductively coupled plasma mass spectrometry, ICP-MS

 

 

 

Kantima Sitlaothavorn