Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

ดื่มแล้วอุ่นใจไร้สารตกค้าง

 

เพื่อนๆทราบหรือไม่ครับว่ากว่าเครื่องดื่มทุกชนิดจะถูกนำมาให้ทุกท่านได้บริโภคกัน มีการผ่านกระบวนการหลากหลายขั้นตอน กว่าจะสามารถนำมาจำหน่ายให้บริโภคได้ โดยเฉพาะกระบวนการควบคุมคุณภาพของเครื่องดื่ม เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีความมั่นใจว่าสิ่งที่เรากำลังจะบริโภคอยู่นั้นมีความสะอาด ปลอดภัย ไร้สิ่งเจือปน และให้ผลประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด ในปัจจุบันมีหลากหลายกรรมวิธีในการควบคุมคุณภาพของเครื่องดื่ม ซึ่งนั่นรวมไปถึงการวิเคราะห์โลหะปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น การปนเปื้อนของอาร์เซนิก (As) แคดเมียม (Cd) ตะกั่ว (Pb) ดีบุก (Sn) ซึ่งหากมีโหละหนักข้างต้นสะสมอยู่ในร่างกายเป็นปริมาณมาก ก็จะมีโอกาสเกิดอันตรายต่อสุขภาพในไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นมะเร็ง หรือกระทั่งเสียชีวิตได้

 

 

แล้วเราจะตรวจสอบปริมาณโลหะหนักปนเปื้อนได้อย่างไร?? ในปัจจุบันการวิเคราะห์โลหะหนักปนเปื้อนในน้ำดื่มสามารถทำได้โดยเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาตร์ เช่น Atomic Absorption Spectrometer (AAs) ที่สามารถวิเคราะห์โลหะหนักปนเปื้อนได้ โดยอาศัยหลักการดูดกลืนแสงของธาตุที่สนใจเพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณของธาตุนั้นๆ แต่เนื่องจากความสามารถของเครื่อง Atomic Absorption Spectrometer (AAs) สามารถวิเคราะห์ได้ทีละธาตุซึ่งอาจจะทำให้เสียเวลาในการวิเคราะห์ไปพอสมควร ดังนั้นเครื่อง Inductively Coupled Plasma – Optical Emission Spectrometer (ICP-OES) ที่ทำการวัดการคายแสงของธาตุทีละหลายๆความยาวคลื่นซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ธาตุที่สนใจได้ทีละหลายธาตุ เทคนิคนี้จึงถูกมาใช้ในการวิเคราะห์แทนเพื่อลดระยะเวลาที่ต้องเสียไป เนื่องจากความสามารถในการวิเคราะห์ธาตุหลายๆชนิดในการวิเคราะห์เพียงครั้งเดียว อีกทั้งยังมีความถูกต้อง และแม่นยำสูงจึงทำให้ได้รับความนิยมสูงในหลากหลายหน่วยงาน

 

  

เครื่อง ICP รุ่น iCAP Pro ผลิตภัณฑ์ Thermo Scientific ประเทศสหรัฐอเมริกา

Chayabodee Sae-Jea