Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

รู้จักกับโรคธาลัสซีเมีย ตอนที่ 1

Diagrammatic Representation of Health Condition Thalassemia

รูปภาพจาก Thalassemia: Symptoms, causes, diagnosis and treatments (msn.com)

 

รู้จักกับโรคโลหิตจางชนิดธาลัสซีเมีย

 

โรคโลหิตจางชนิดธาลัสซีเมียหรือโรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดโดยยีนด้อย ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงที่มีคุณลักษณะที่ผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดการเสื่อมสภาพหรือการแตกสลายเร็วของเม็ดเลือดแดงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งในประเทศไทย พบว่ามีประชากรมากถึง 40% มีพันธุกรรมของโรคนี้แฝงอยู่โดยไม่มีอาการ แต่จะเป็นพาหะถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคธาลัสซีเมียต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ในเม็ดเลือดแดงจะมีฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนที่ประกอบด้วยธาตุเหล็กเป็นแกนกลาง จะบ่งบอกถึงความสามารถในการเป็นพาหนะของออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกาย โดยฮีโมโกลบินที่สมบูรณ์จะประกอบด้วย 4 หน่วยย่อย อันได้แก่ฮีโมโกลบินหน่วยแอลฟา ซึ่งถูกสร้างจากยีนบนโครโมโซมที่ 16 จำนวนสองหน่วย และฮีโมโกลบินหน่วยเบต้า ซึ่งถูกสร้างจากยีนบนโครโมโซมที่ 11 จำนวนอีกสองหน่วย ดังรูปด้านล่าง

Hemoglobin - Structure, Function and Diagram | GetBodySmartฮีโมโกลบินปกติสามารถแบ่งได้เป็นสามรูปแบบ ได้แก่

  • ฮีโมโกลบิน A1 (Hb A) เป็นฮีโมโกลบินหลักที่ประกอบด้วยชนิดแอลฟา (α)  และเบต้า (β) อย่างละสองหน่วย คิดเป็นประมาณ 98% ของฮีโมโกลบินที่พบในผู้ใหญ่
  • ฮีโมโกลบิน A2 (Hb A2) เป็นฮีโมโกลบินที่พบได้ประมาณ 2% ในคนปกติ จะประกอบด้วยชนิดแอลฟา (α) และเดลตา (δ) อย่างละสองหน่วย (เดลตา ถูกสร้างจากยีนโครโมโซมที่ 11 เช่นเดียวกับเบต้า)
  • ฮีโมโกลบิน F (Hb F) เป็นฮีโมโกลบินที่พบในทารกขณะตั้งครรภ์ จะประกอบด้วยชนิดแอลฟา (α) และแกมมา(γ) อย่างละสองหน่วย หลังจากคลอดประมาณครึ่งปีถึงสองปี จะค่อยๆลดระดับปริมาณลง

การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในยีนที่สร้างโปรตีนโกลบิน จะทำให้ฮีโมโกลบินเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เช่นฮีโมโกลบิน S ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะเป็นรูปเคียว ในกรณีของธาลัสซีเมีย จะเกิดจากความผิดปกติของสมดุลการผลิตหรือการจับคู่ของหน่วยแอลฟาและหน่วยอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น

  • การไม่ผลิตหน่วยแอลฟาในทารกระยะ Fetus (ครรภ์ประมาณสิบสัปดาห์เป็นต้นไป) ทำให้เกิดการจับกันของหน่วยแกมมาทั้งหมด (Hb Bart) โดยจะทำให้ฮีโมโกลบินจับออกซิเจนดีมาก จนไม่ยอมปล่อยให้กับอวัยวะและเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกาย เกิดภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนหรือไฮโปเซีย ทำให้เกิดการหลั่งสารไซโตไคน์ เพื่อกระตุ้นให้รกมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรับออกซิเจนจากมารดามากขึ้น ส่วนทารกเองจะถูกกระตุ้นให้มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น จึงเป็นผลให้ทารกมีภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตในครรภ์ อย่างไรก็ตามหากยีนที่ผลิตหน่วยของแอลฟาขาดหายไป ก็มีแนวโน้มที่ทำให้เกิดภาวะ Hb H หลังคลอด
  • กรณีผู้ใหญ่ ที่ขาดหน่วยแอลฟา อาจเกิดภาวะการจับกันของหน่วยเบต้าทั้งหมด (Hb H) แม้ว่าหน่วยเบต้าทั้งสี่จะปกติ แต่การรวมตัวกันโดยขาดหน่วยแอลฟา ทำให้ลดการปล่อยออกซิเจนให้กับอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ (เช่นเดียวกับ Hb Bart) นอกจากนี้ความอันตรายของมันจะเกิดขึ้นเมื่อเม็ดเลือดแดงแก่ตัวและจะต้องถูกทำลาย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและตกตะกอน จนอาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกนอกหลอดเลือดด้วยกลไกของแมคโครฟาจก์ หรือการเกิด Hemolytic Crisis ซึ่งนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง

ในปัจจุบันได้มีวิธีในการตรวจธาลัสซีเมียหลายเทคนิค แต่เทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมหรือ DNA แม้ว่าจะสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ามีความเสี่ยงเป็นธาลัสซีเมียชนิดใด หรือแม้กระทั่งการทำนายความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน ทำให้ใช้เวลาค่อนข้างนาน ส่วนใหญ่จึงใช้การดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และการทำ Hb Typing ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องการระบุชนิดของทาลัสซีเมีย

 

รู้จักกับเทคนิค MassArray

Multiplex Polymerase Chain Reaction - an overview | ScienceDirect TopicsThe MassARRAY System from Agena Bioscience

 

เทคนิค MassArray เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับการตรวจสารพันธุกรรมชนิด DNA และ RNA ด้วยวิธีที่เรียกว่า Multiplexing PCR (รูปด้านบนขวา) หรือการใช้ไพร์เมอร์มากกว่าหนึ่งคู่ในการทำ PCR ครั้งเดียว ซึ่งจะช่วยทุ่นเวลาและค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ ร่วมกับการใช้เทคนิค MALDI-ToF แมสสเปคโตรมิเตอร์ (รูปด้านบนซ้าย) เพื่อทำการวัดน้ำหนักมวลของสารพันธุกรรม ซึ่งประกอบด้วย เบสพื้นฐาน 4 ชนิด อันได้แก่ A, G, C, T ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกัน จึงมีน้ำหนักมวลที่แตกต่างกันด้วย และด้วยหลักการนี้ การศึกษาตำแหน่ง Single Nucleotide Polymorphism (SNP) หรือ ตำแหน่ง Variant จะแสดงให้เห็นความแตกต่างของมวลสายโพลีนิวคลีโอไทด์ที่มีลำดับเบสที่แตกต่างกันได้

และด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ทำให้ MassArray ถูกนำมาใช้ในวงการวิจัยและวงการแพทย์ทั่วโลก นำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรม นอกจากนี้ยังใช้ปริมาณตัวอย่างที่น้อย ระยะเวลาที่วิเคราะห์และแปลผลสั้น โดยปัจจุบันในการตรวจธาลัสซีเมีย มีการตรวจได้ถึง 65 Mutation ดังนี้

Mutation

 

          HGVS nomenclature

เบต้า

-87 C>A

HBB:c.-137C>A

-86 C>G

HBB:c.-136C>G

-50 G>A

HBB:c.-100G>A

-31 A>G

HBB:c.-81A>G

-30 T>A

HBB:c.-80T>A

-30 T>C

HBB:c.-80T>C

-29 A>G

HBB:c.-79A>G

-28 A>G

HBB:c.-78A>G

Hb C

HBB:c.19G>A

Hb S

HBB:c.20A>T

codon 8/9 +G

HBB:c.27_28insG

codon 15 -T

HBB:c.46delT

codon 17 A>T

HBB:c.52A>T

Hb Malay

HBB:c.59A>G

codon 26 G>T

HBB:c.79G>T

Hb E

HBB:c.79G>A

codon 27/28 +C

HBB:c.84_85insC

Hb Monroe

HBB:c.92G>C

IVSI-1 G>A

HBB:c.92+1G>A

IVSI-1 G>T

HBB:c.92+1G>T

IVSI-5 G>C

HBB:c.92+5G>C

codon 35 -C

HBB:c.110delC

codon 35 C>A

HBB:c.110C>A

codon 39 C>T

HBB:c.118C>T

codon 41 -C

HBB:c.126delC

codon 41/42 -TTCT

HBB:c.126_129delCTTT

codon 43 G>T

HBB:c.130G>T

Hb J Bangkok

HBB:c.170G>A

codon 57/58 +C

HBB:c.174_175insC

codon 71/72 +A

 HBB:c.216_217insA

codon 71/72 +T

 HBB:c.216_217insT

Hb G Accra

HBB:c.220G>A

Hb Pyrgos

HBB:c.251G>A

codon 95 +A

HBB:c.287_288insA

IVSII-654 C>T

HBB:c.316-197C>T

Hb New York

HBB:c.341T>A

Hb D Los Angelis

HBB:c.364G>C

Hb O Arab

HBB:c.364G>A

Hb Khon Kaen

HBB:c.370_378delACCCCACCA

Hb Khartoum

HBB:c.374C>G

Hb Dhonburi

HBB:c.380T>G

Hb Cook

HBB:c.398A>C

Hb Hope

HBB:c.410G>A

Hb Tak

HBB:c.441_442insAC

105 bp deletion

HBB:c.-74_31del

Asian Indian (619 bp deletion)

NG_000007.3:g.71609_72227del619

Thai (3485 bp deletion)

 

แอลฟา 1

Hb Hekinan

HBA1:c.84G>T

Hb Prato

HBA1:c.96G>T

Hb J Buda

HBA1:c.186G>T

Hb Q Thailand

HBA1:c.223G>C

Hb Vientiane

HBA1:c.274C>T

Hb Port Phillip

HBA1:c.275T>C

Hb Phnompehn

HBA1:c.351_352insATC

Hb Owari

HBA2:c.364G>A

Hb Beijing

HBA2:c.51G>T

Hb I

HBA2:c.49A>G

Hb G Georgia

HBA2:c.287C>T

Hb Westmead

HBA2:c.369C>G

แอลฟา 2

initiation codon -T

HBA2:c.2delT

codon 30 -GAG

HBA2:c.91_93delGAG

codon 59 G>A

HBA2:c.179G>A

Hb Quong Sze

HBA2:c.377T>C

Hb Constant Spring

HBA2:c.427T>C

Hb Paksé

HBA2:c.429A>T

 

รูปแสดงการแปลผลการตรวจเบต้าธาลัสซีเมีย ในตำแหน่ง HBB:c.92+1G>C ใช้สำหรับการแปลผล IVSI-1 G>C

แล้วพบกันใหม่ในตอนที่ 2 นะครับ

 

Pongsagon Pothavorn