Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 954

การดูแลรักษาเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ

 

การดูแลรักษาเครื่่องแก๊สโครมาโทกราฟ

1. การดูแลรักษาส่วนฉีดสาร (Injector)

          ในส่วนฉีดสารจะประกอบด้วย

          1.1 Septum ทำหน้าที่อุดรอยรั่วเมื่อเราฉีดตัวอย่างเข้าเครื่อง  มีความยืดหยุ่นและทนความร้อนได้สูง  แต่เมื่อเรามีการฉีดสารตัวอย่างจำนวนครั้งมากขึ้น ก็จะเกิดรูพรุนมากขึ้นตามไปด้วย  ดังนั้นควรเปลี่ยน Septum ชิ้นใหม่เมื่อฉีดตัวอย่างครบ 400 ครั้งสำหรับการฉีดด้วยเครื่องฉีดสารอัตโนมัติ  และ 200 ครั้งสำหรับการฉีดตัวอย่างด้วยมือ หรือ การฉีดต้วยระบบเฮดสเปซ(Headspace) หรือ SPME  

          1.2 Liner คือส่วนที่ตัวอย่างระเหย จึงเกิดความสกปรกได้ง่าย  หากตัวอย่างที่ิวิเคราะห์ผ่านการสกัดแล้วได้สารละลายใส ไม่มีสี และไม่หนืดก็จะถอด Liner ออกมาทำความสะอาดหรือเปลี่ยนทุกๆ 400 ตัััวอย่าง แต่ถ้าหากตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์หนึดหรือมีตะกอนก็ต้องเปลี่ยนเร็วกว่า  ทั้งนี้สามารถดูได้จากผลการวิเคราะห์หากโครมาโทแกรมมีพีกแปลกๆเกิดขึ้น และเวลาที่ปรากฏไม่แน่นอนส่วนมากจะเกิดจาก Liner สกปรกค่ะ  

          สำหรับการถอดเปลี่ยน Septum และ Liner สามารถทำได้ง่ายๆโดยผู้ใช้งานดังเช่นตัวอย่างด้านล่างเป็นวิธีการถอดเปลี่ยน Septum และ Liner ของเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟยี่ห้อ Thermo Scientific รุ่น Trace 1300Series ค่ะ วิธีการถอดเปลี่ยนไม่จำเป็นต้องถอดสายไฟหรือสายแก๊สใดๆทั้งสิ้นค่ะ ออกแบบมาให้ดูแลรักษาได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว

วิธีการเปลี่ยน Septum

 

วิธีการเปลี่ยน Liner

 

2. การดูแลรักษาส่วนคอลัมน์ (Column)

          การดูแลรักษาคอลัมน์สามารถทำได้โดยการทำ Condition ซึ่งสามารถทำได้ทั้งก่อนหรือหลังการวิเคราะห์  การ Condition คือการปรับอุณหภูมิของ Oven ให้สูงกว่าอุณหภูมิปรกติที่ใช้งาน  แต่ไม่เกินที่คอลัมน์ทนได้นะคะ  หรือ  ฉีดสารละลาย (Solvent) เพื่อชะสิ่งที่ตกค้างในคอลัมน์ออกมาก็ช่วยทำความสะอาดคอลัมน์ได้เช่นเดียวกันค่ะ

          แต่ถ้าพบว่า Condition แล้วยังพบ peak tailing หรือ resolution ของการแยกไม่ดีขึ้น  ผู้ใช้งานอาจจะต้องตัดคอลัมน์ทางด้าน Injector ออกก็จะทำให้ผลการวิเคราะห์ดีขึ้นได้ค่ะ  

3. การดูแลรักษาส่วนตัวตรวจวัด (Detector)

          ตัวตรวจวัดที่ใช้เปลวไฟ (Flame)  เมื่อใช้ไปเป็นเวลานานจะมีเขม่าสะสมทำให้ basedline สูง และความไวของตัวตรวจวัดลดลงไม่สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างที่มีความเข้มข้นต่ำๆ ได้  ดังนั้นจึงต้องถอดตัวตรวจวัดออกมาทำความสะอาดเพื่อให้ความไวของการวิเคราะห์กลับมาสู่สภาวะปรกติ

          ตัวตรวจวัดที่เป็นแมสสเปคโตรมิเตอร์ (MS)  จะต้องถอดในส่วนของ Ion source ออกมาทำความสะอาด  โดยจะสามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ก็ต้องปิดระบบสุญญากาศของเครื่องก่อนเสมอ  ทำให้ใช้เวลาในการดูแลรักษามากกว่าตัวตรวจวัดทั่วไป  สำหรับเครื่องแมสสเปคโตรมิเตอร์ของยี่ห้อ Thermo Scientific ได้ออกแบบฟังก์ชัน Vacuum Probe Interlock (VPI)  ช่วยอำนวยความสะดวกในการถอด Ion source ออกมาทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องปิดระบบสุญญากาศของเครื่อง  ทำให้ประหยัดเวลา  สะดวก  และรวดเร็วในการดูแลรักษา  และยังสามารถเปลี่ยนโหมดจาก EI เป็น CI ได้โดยไม่ต้องปิดระบบสุญญากาศเช่นเดียวกันค่ะ

วิธีการถอด Ion source โดยไม่ต้องปิดระบบสุญญากาศของเครื่องแมสสเปคโตรมิเตอร์

 

          การใช้งานเครืื่องมือ  หากใช้งานได้ถูกต้องและดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผลการวิเคราะห์เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดค่ะ  ดังนั้นเราควรหมั่นดูแลรักษาเครื่องมือไม่ว่าเครื่องมือนั้นจะเป็นเครื่องมือหลักร้อยบาท  หรือ  เป็นเครื่องมือหลักล้านบาท  ทั้งนี้ก็เพื่อให้การวิเคราะห์เกิดประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ  kisskisskiss