Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

การตรวจติดตามสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่เป็นพิษและเป็นสารก่อให้เกิดโอโซนในอากาศ

 

          ระดับมลพิษในอากาศมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามกิจกรรมของมนุษย์ ณ เวลาหนึ่งๆ นอกเหนือจากแก๊สพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็กแล้ว สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds, VOCs)  ก็เป็นกลุ่มสารที่สามารถก่อให้เกิดมลพิษในอากาศได้เช่นเดียวกัน

 

          สาร VOCs คือ สารที่มีอะตอมของ ธาตุคาร์บอนและธาตุไฮโดรเจน เป็นองค์ประกอบหลักและอาจมีอะตอมของธาตุอื่นๆ เช่น คลอไรด์ ออกซิเจน ฟลูออไรด์ โบรไมต์ ซัลเฟอร์ หรือ ไนโตรเจนประกอบด้วย  สาร VOCs สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดตามองค์ประกอบ คือ

          1) กลุ่ม non-Chlorinated VOCs เป็นกลุ่มที่ไม่มีอะตอมของธาตุคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซโซลีน เฮกเซน แอลกอฮอล์ แอลดีไฮด์ คีโตน โทลูอีน เบนซีน เอทิลเบนซีน    ไซลีน ฟีนอล เป็นต้น

          2) กลุ่ม Chlorinated VOCs เป็นกลุ่มที่มีอะตอมของธาตุคลอรีนเป็นองค์ประกอบ โดยมากเป็นสารสังเคราะห์มีความเป็นพิษและมีความเสถียรในสิ่งแวดล้อมมากกว่าสารกลุ่มแรก จึงยากต่อการสลายตัว ทำให้เกิดการสะสมในสิ่งแวดล้อมในปริมาณมาก

 

          นอกเหนือจากสาร VOCs จะก่อให้เกิดพิษต่อมนุษย์ได้โดยตรงแล้ว สาร VOCs ยังเป็น Ozone precursors โดยมีส่วนเป็นสารตั้งต้นทำให้เกิดโอโซนระดับพื้นดิน ซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซไนโตรเจนออกไซค์ และสาร VOCs โดยมีแสงแดดเป็นตัวกระตุ้น (photochemical reactions) ซึ่งเมื่อโอโซนระดับพื้นดินมีความเข้มข้นสูง อาจจทําให้เกิดการหายใจติดขัด ไอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียร และการระคายเคืองต่อปอดได้

 

          ในปัจจุบันยังไม่มีการรายงานการตรวจติดตามสาร VOCs ในอากาศแบบทันท่วงที เนื่องจากการเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อวิเคราะห์สาร VOCs ซึ่งเป็นกลุ่มสารที่มีหลากหลายชนิด    จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์หรือวิธีการเก็บตัวอย่างแตกต่างกันตามวิธีมาตรฐาน เช่น EPA TO-15 ใช้ Canister หรือ EPA TO-17 หรือ EPA 325  ใช้หลอดเก็บตัวอย่าง เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นการเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปวิเคราะห์ตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการทำให้ใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน และผลการวิเคราะห์ไม่เป็นปัจจุบัน  ส่งผลให้การแจ้งเตือนต่อสาธารณะไม่ทันท่วงที

 

          สำหรับระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์สาร VOCs ในอากาศแบบทันท่วงที (on line analysis) คือ การเตรียมตัวอย่างแบบเทอร์มอล์ดีซอร์ฟชัน (Thermal Desorption, TD) ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (Gas Chromatography, GC) แบบอัตโนม้ติและต่อเนื่องเพื่อรายงานความเข้มข้นของสาร VOCs ในอากาศให้มีความใกล้เคียงกับปัจจุบันมากที่สุด  และการเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยระบบ GC จำเป็นต้องมีระบบกำจัดความชื้นซึ่งเทคโนโลยีของ  Kori-xr ช่วยให้ไม่สูญเสียสาร VOCs ที่มีขั้ว (Polar compound) ช่วยขยายขีดความสามารถในวิเคราะห์สาร VOCs ได้คลอบคลุมด้วยการเก็บตัวอย่างเพียงครั้งเดียว ร่วมกับระบบ TT24-7 ที่มี Twin-trap thermal desorption สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ได้อย่างต่อเนื่องและระบบ Dual-column GC-MS/FID ช่วยให้ครอบคลุมการวิเคราะห์สาร VOCs ได้สูงสุด 117 สารในคราวเดียวกันทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวิเคราะห์เหมาะสำหรับงานตรวจติดตามเพื่อควบคุม ดูแลและแจ้งเตือนได้อย่างทันท่วงที

 

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : www.scispec.co.th/app/2021TH/AN21_TDGCMS_Online.pdf

 

 

 

Ratimarth Boonlorm