Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

การตรวจหาคลอไรด์ในน้ำดื่มด้วยการวิเคราะห์แบบอัตโนมัติด้วยเทคนิค Discrete Photometry

Free photo macro shot of pouring water into a glass

               โลกกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายของปัญหาสิ่งแวดล้อม น้ำดื่มก็เป็นหนึ่งปัจจัยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนมาตรฐานและข้อกำหนดให้มีความเข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตามห้องปฏิบัติการหลายแห่งยังประสบปัญหาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิธีการวิเคราะห์แบบดั้งเดิมต้องใช้คนและเวลา อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาดขึ้นอีกด้วย 

ทำไมคลอไรด์ในน้ำดื่มถึงเป็นปัญหา?

               การวัดระดับคลอไรด์ในน้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ว่าตัวคลอไรด์จะไม่เป็นปัญหาด้านสุขภาพก็ตาม แต่มันทำให้น้ำที่บริโภคนั้นมีรสชาติเค็มขึ้นซึ่งผู้บริโภคบางรายไม่ชอบ นอกเหนือจากคุณภาพรสชาติแล้ว ความเข้มข้นของคลอไรด์ที่มากเกินไปย่อมส่งผลต่อการกัดกร่อนของระบบประปา และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด อาจส่งผลให้ทองแดงและตะกั่วมีการปนเปื้อนในน้ำดื่มได้

 

อะไรคือความท้าทายด้วยวิธีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำแบบดั้งเดิม?

               วิธีการแบบดั้งเดิมที่ใช้การไตไตรตเป็นที่รู้จักกันดีและถูกต้องแม่นยำในการวิเคราะห์น้ำดื่ม อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้ใช้เวลานานและมีขั้นตอนยุ่งยากซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดได้ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ใหม่ๆ เพื่อทดทานวิธีดั้งเดิม

            การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Discrete Photometry แบบอัตโนมัติ ได้ถูกพัฒนาขึ้น หนึ่งในผู้พัฒนาคือบริษัท Thermo Scientific ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยนวัตกรรมของเครื่อง Gallery Discrete Analyzer Series ที่ใช้ร่วมกับรีเอเจนต์ที่พร้อมใช้งาน และขั้นตอนวิเคราะห์อ้างอิงจากข้อบังคับ The Safe Drink Water Act (SDWA) ของพระราชบัญญัติน้ำดื่มที่ปลอดภัยของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (US EPA)

            วิธีการนี้เป็นวิธีการวิเคราะห์แบบอัตโนมัติที่ใช้งานได้ง่ายและสามารถวิเคราะห์ได้หลายพารามิเตอร์พร้อมกันเพียงแค่อาศัยตัวอย่างเดียวเท่านั้น การกำหนดค่าพารามิเตอร์การทดสอบและการควบคุมคุณภาพที่ความยืดหยุ่น และการรายงานผลที่เทมเพลตให้เลือกใช้ได้ตามความต้องการ

 

หลักการทำงานของเครื่อง

               วิธีการนี้เป็นการวัดตรวจวัดแสงของสารประกอบเชิงซ้อนไอออนเหล็ก (III) ไทโอไซยาเนต โดยที่คลอไรด์ทำปฏิกิริยากับ ปรอด (II) ไทโอไซยาเนต ทำให้เกิดสารประกอบที่ละลายน้ำได้และไม่มีประจุ ไอออนไทโอไซยาเนตที่ปล่อยออกมาจะทำปฏิกิริยาในสารละลายกรดกับเหล็ก (III) ไนเตรต ทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนไทโอไซยาเนตของธาตุเหล็ก (III) ที่เป็นสีแดงหรือน้ำตาล โดยที่ความเข้มของสีของสารประกอบที่ได้จะวัดที่ความยาวคลื่น 480 นาโนเมตร และความเข้มข้นที่ได้จะแปรผันตรงตามความเข้มของคลอไรด์

 

รูปที่ 1 ขั้นตอนการทำงานของเครื่อง Gallery Discrete Analyzer

 

 

               เนื่องจากเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่เป็นระบบอัตโนมัติและครบวงจร ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการใช้รีเอเจนต์ที่เป็นอันตราย อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในห้องปฏิบัติการอีกด้วย

 

อ้างอิงจาก

https://www.thermofisher.com/blog/analyteguru/a-novel-automated-approach-to-detecting-chloride-in-drinking-water-with-discrete-analysis/

Marketing Team II