Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

แก๊สโครมาโทกราฟีและตรวจวิเคราะห์คุณภาพกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์

Gas Chromatography (GC) คืออะไร ?

                    เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (Gas Chromatography, GC) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการแยกสารผสมออกจากกันในสถานะแก๊ส โดยอาศัยคุณสมบัติในการละลายและความสามารถในการดูดซับที่แตกต่างกันของสารแต่ละชนิด

GC ทำงานอย่างไร ?

          GC ประกอบด้วยเฟส (Phase) 2 ชนิด คือ

                    -เฟสเคลื่อนที่ (Mobile Phase) เป็นแก๊ส หรือเรียกว่าแก๊สพา (Carrier Gas)

                    -เฟสอยู่กับที่ (Stationary Phase) เป็นของเหลว ของแข็ง หรือกึ่งแข็งกึ่งเหลวบรรจุอยู่ในคอลัมน์ (Column)

รูปที่ 1 ส่วนประกอบและการทำงานของเครื่อง GC

                    เมื่อฉีดสารผสมเข้าสู่สวนฉีดสาร (Injector) สารผสมจะเกิดการระเหยและถูกพาเข้าสู่คอลัมน์ด้วยแก๊สพา ซึ่งภายในคอลัมน์สารแต่ละชนิดจะถูกแยกออกจากโดยอาศัยคุณสมบัติในการละลายและความสามารถในการดูดซับในเฟสทั้งสองชนิด หลังจากนั้นสารที่ออกจากคอลัมน์จะถูกตรวจวัดด้วยตัวตรวจวัด (Detector) ที่เหมาะสมเพื่อรายงานผลออกมาในรูปแบบโครมาโทแกรม (Chromatogram)

 

รูปที่ 2 การวิเคราะห์ผลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณด้วย GC

 

ผลจากการวิเคราะห์ด้วย GC สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง ?

          สามารถรายงานการวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

                    -การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้ความเร็วหรือระยะเวลาในการเคลื่อนที่ของสารผ่านคอลัมน์ (Retention Time, RT) เพื่อระบุชนิดของสาร

                    -การวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ใต้กราฟ (Peak Area) กับปริมาณของสาร

สารชนิดใดบ้างที่สามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GC ได้ ?

          สารที่มีคุณสมบัติระเหยเป็นไอได้ง่าย

          สำหรับงานทางด้านตรวจวิเคราะห์คุณภาพของพืชกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งเป็นงานที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เราสามารถนำเทคนิค GC มาประยุกต์ใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารออกฤทธิ์และสารปนเปื้อนในตัวอย่างได้ โดยใช้ส่วนตรวจวัดที่มีความไวในการวิเคราะห์ (Sensitivity) และความจำเพาะเจาะจง (Selectivity) สูง ได้แก่ Mass Spectrometer (MS)

 

Terpenes

                    Terpene เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่สามารถพบได้ในน้ำมันหอมระเหยจากพืชกัญชา เป็นสารมีกลิ่นที่เฉพาะตัวและรุนแรง มักมีส่วนช่วยในการออกฤทธิ์ในลักษณะทำให้เกิดอาการผ่อนคลายและบรรเทาความเครียด แต่บางชนิดอาจมีการออกฤทธิ์อื่นๆอีก เช่นต้านการอักเสบ รักษาโรคมะเร็งบางชนิด หรือทำปฏิกิริยาและประสานเข้ากันกับสารประกอบอื่นๆ ในพืชกัญชา เช่น Cannabidiol (CBD) และ Tetrahydrocannabinol (THC) ซึ่งช่วยเสริมการออกฤทธิ์และสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการนำสารกลุ่ม Terpenes มาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ จำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้ในปริมาณสารที่มากหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลต่อการรักษาได้ ดังนั้นการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารกลุ่ม Terpenes จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่นิยมและสามารถทำได้ง่าย คือเทคนิค Headspace Gas Chromatography Mass Spectrometry (HS-GC-MS)

รูปที่ 3 แสดงขั้นตอนการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำมันกัญชา

 

Pesticides

                    สารเคมีปราบศัตรูพืช (Pesticides) เป็นหนึ่งในสารปนเปื้อนอันตรายที่มักจะตรวจพบในกัญชาที่มาจากแหล่งที่มาที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจวัดปริมาณของสารเคมีปราบศัตรูพืชในตัวอย่างกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชาก่อนจะนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

รูปที่ 4 แสดงขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์สารเคมีปราบศัตรูพืช

 

เรียบเรียงโดย

นิรมล จิตต์สมหมาย,รติมาศ บุญล้อม และ วิชนี สอนสา

GC Product Specialist

Ratimarth Boonlorm