Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

อะมัลกัม…จากปรอท

 

 

อะมัลกัม (Amalgam) คือ โลหะผสมที่ได้จากการผสมระหว่างปรอท (Mercury) กับโลหะอื่นๆ โดยโลหะนั้นอาจเป็นโลหะบริสุทธิ์ชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้ โดยสามารถผสมปรอทกับโลหะได้เกือบทุกชนิด ยกเว้น เหล็ก แพลทินัม ทังสเตน และแทนทาลัม ซึ่งตัวอย่างอะมัลกัมที่โดดเด่นและนำมาใช้ประโยชน์ที่เห็นกันในปัจจุบัน ได้แก่

          โซเดียมอะมัลกัม ถูกใช้เป็นสารรีดิวซ์ทั้งในปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์และอนินทรีย์ นอกจากนี้ยังใช้ในการทำหลอดโซเดียมอะมัลกัมความดันสูง โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ผลิตสีที่เหมาะสม และใช้ปรอทเพื่อปรับแต่งคุณสมบัติทางไฟฟ้าของหลอดไฟ

          อะลูมิเนียมอะมัลกัม ใช้เป็นสารรีเอเจนต์ในการลดสารประกอบของอิมีนให้เปลี่ยนเป็นเอมีน

          ดีบุกอะมัลกัม ใช้เคลือบกระจก ทำให้เป็นเงาและสามารถสะท้อนแสงได้

          แทลเลียมอะมัลกัม มีจุดเยือกแข็งที่อุณหภูมิ -58 °C ซึ่งต่ำกว่าปรอทบริสุทธิ์ (-38.8 °C) จึงมีการนำมาใช้ในการผลิตเทอร์โมมิเตอร์ที่อุณหภูมิต่ำ

          เงิน – ดีบุกอะมัลกัม ใช้เป็นวัสดุบูรณะฟัน (อุดฟัน)

ทองคำอะมัลกัม ในสมัยก่อน โลหะปรอทได้ถูกนำมาใช้ในธุรกิจเหมืองแร่ทองคำ เมื่อมีคราบทองแดงในกรวดหรือทราย จะมีการใช้ปรอทเทลงไปผสมกลายเป็นอะมัลกัม และนำมาแยกทองคำโดยการกลั่นระเหย เพื่อกำจัดปรอททิ้ง ทำให้เหลือเพียงทองคำบริสุทธิ์

 

 

          รู้หรือไม่?? ส่วนประกอบหลักของอะมัลกัมคือ “ปรอท” และเนื่องด้วยปรอทสามารถเกิดเป็นสารประกอบระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย เมื่อเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นทางหายใจ ทางผิวหนัง หรือทางปาก ก็สามารถเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น หากสูดหายใจรับไอปรอทเข้าไปเป็นจำนวนมาก จะทำให้เกิดอาการไอและปวดศีรษะอย่างรุนแรง บางรายอาจมีอาการของหลอดลมอักเสบ หรือหากมีการสัมผัสไอปรอททางผิวหนัง อาจทำให้เกิดการอักเสบเป็นผื่นแดง และเป็นโรคผิวหนังได้

 

 

การตรวจสอบปริมาณของปรอท

          ปรอทเป็นธาตุโลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูง เนื่องจากสามารถเกิดการสะสมและอยู่ได้นานได้ทั้งในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการตรวจสอบและวัดระดับปรอทจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็น    เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมมีความปลอดภัย โดยเทคนิคที่สามารถนำมาวิเคราะห์หาปริมาณของโลหะได้มีอยู่ด้วยกันหลายเทคนิค ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “เทคนิค Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry หรือ ICP-MS

 

เครื่อง ICPMS รุ่น iCAP RQ ยี่ห้อ Thermo Scientific

 

          เทคนิค ICPMS เป็นเทคนิคที่สามารถวิเคราะห์ธาตุได้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ที่ง่ายและสะดวก ใช้สารตัวอย่างปริมาณน้อย สามารถวิเคราะห์ได้ในระดับความเข้มข้นต่ำๆ (ppm-ppt) ให้ Sensitivity ที่สูง และเป็นที่นิยมในการตรวจวัดปริมาณของโลหะหนักอีกด้วย



Chayabodee Sae-Jea