Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

ว่าเรื่องของไข่

  

   

          ไข่ ถือเป็นวัตถุดิบที่หลายๆ คนคุ้นเคย และมีติดตู้เย็นกันแทบทุกบ้าน เนื่องจากเป็นแหล่งสารอาหารที่ถูกมาก สามารถทำได้หลากหลายเมนู  ไข่ 1 ฟอง จะให้พลังงานประมาณ 80 กิโลแคลอรี โปรตีน 7 กรัม ซึ่ง FAO ได้จัดให้โปรตีนในไข่มีคุณภาพดีที่สุด โดยมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายที่ไม่สามารถสร้างเองได้ ครบทั้ง 10 ชนิด มีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าโปรตีนชนิดอื่น นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 13 ชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี และโคลีนที่มีมากในไข่แดง ซึ่งช่วยให้ระบบเซลล์สื่อประสาททำงานได้ดี ช่วยเรื่องความจำ เป็นต้น ในไข่จะพบไขมันเพียง 6 กรัมเท่านั้น และ โคเลสเตอรอลประมาณ 186-200 มิลลิกรัม (ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของไข่) แล้วเราสามารถทานไข่ทุกวันได้หรือไม่??? เนื่องจากยังมีหลายคนเข้าใจผิดเรื่องโคเลสเตอรอลในไข่ ซึ่งทาง USDA ได้แนะนำว่า ควรจำกัดปริมาณคอเลสเตอรอลที่ประมาณ 300 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นเราสามารถทานไข่ได้ทุกวัน แต่ควรทานไม่เกิน 2 ฟองต่อวันค่ะ แต่สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และผู้สูงอายุ ต้องระวังเรื่องการบริโภคไข่เป็นพิเศษ โดยควรบริโภคไข่ 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ หรือบริโภคแค่ไข่ขาวเท่านั้น ปัจจุบันในท้องตลาด นอกเหนือจากไข่ทั่วไปที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่แล้ว ยังมีการเพิ่มคุณค่าให้แก่ไข่เพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น และเพื่อเป็นทางเลือกของคนรักสุขภาพ เช่น ไข่เสริมโอเมก้า 3 ไข่ดีเอชเอ ไข่เสริมไอโอดีน 

 

Iodine On The Periodic Table Of The Elements Stock Photo, Picture And  Royalty Free Image. Image 81290230.   

            ไข่เสริมไอโอดีนคืออะไร?? คือไข่ที่มีการเติมไอโอดีนลงไป ทำให้ไข่ 1 ฟอง มีปริมาณของไอโอดีนประมาณ 100-200 ไมโครกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และสูงกว่าไข่ทั่วไปที่ไม่มีการเสริมไอโอดีนถึง 10 เท่าเลยค่ะ  ไอโอดีน (Iodine) จัดเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย หากเราขาดไอโอดีนหรือได้รับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดโรคที่รู้จักกันคือ "โรคคอพอก" ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างฮอรโมนไทรอยด์ ทำให้ร่างกายเกิดการเสียสมดุลในการควบคุมการทำงาน และยังส่งผลต่อ IQ โดยเฉพาะในเด็กทารกจะทำให้เกิดโรคเอ๋อได้ค่ะ ดังนั้นนสตรีมีภรรค์จึงเป็นกลุ่มสำคัญที่จะต้องมีโภชนาการและได้รับปริมาณของไอโอดีนที่เพียงพอ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ประชาชนบริโภคไอโอดีนไม่เกินวันละประมาณ 150 ไมโครกรัมต่อลิตร หรือ 1 ช้อนชาค่ะ ดังนั้นอาหารที่มีการเสริมไอโอดีน จึงต้องได้รับมาตรฐาน มีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของการผลิต เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปริมาณของไอโอดีนที่เหมาะสมต่อผู้บริโภค

           เทคนิคการตรวจหาปริมาณไอโอดีนมีด้วยกันหลายเทคนิค แต่เทคนิคที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ เทคนิค ICPMS  เนื่องจากมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก โดยการนำไข่แดงมาเติมสารละลายเคมีที่เหมาะสม เพื่อตกตะกอนโปรตีนออก จากนั้นนำไปกรอง และนำไปทดสอบด้วยเครื่อง ICPMS เพียงเท่านี้ก็ได้ผลการวิเคราะห์ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว.....  cool สามารถอ่านขั้นตอนการทดสอบและข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่นี่

 

iCAP™ RQ ICP-MS  

เครื่อง iCAP RQ ICPMS ยี่ห้อ ThermoScientific

 

 

Kantima Sitlaothavorn